กลับ
ภาษาอีสานคำว่า
ขี้กะเดียม
ความหมาย:
รู้สึกจักจี้ เรียก หนักขี้กะเดียม หนักกะเดียม ก็ว่า
คำถัดไป:
ขี้สูด
- รังของแมลงจำพวกแมงน้อย ชอบทำรังตามจอมปลวกหรือโพรงไม้ รังของมันมีน้ำหวาน เมื่อปั้นเอาน้ำหวานออกแล้วจะมีสีดำ เหนียว ใช้ติด อุดรูกันลมรั่วในเต้าแคน เรียก ขี้สูด
ขุ้มหลุ้ม
- ใหญ่และสั้น เช่น ท่อนไม้ใหญ่และสั้น เรียก สั้นขุ้มหลุ้ม สั้นขู้หลู้ สั้นโข้โหล้ ก็ว่า
เข้าขั้ว
- ข้าวคั่ว ข้าวสารที่คั่วให้เกรียมแล้วป่นให้ละเอียด สำหรับปรุงอาหาร เช่น ใส่ลาบ ก้อย ส้มปลาน้อย หม้ำ หรือแกงหน่อไม้ เรียก เข้าขั้ว
เข้าจี่
- ข้าวเหนียวนึ่ง ปั้นเป็นก้อน ใช้ไม้เสียบตรงกลาง โรยเกลือแล้วปิ้งไฟให้สุก เมื่อสุกแล้วทาผิวนอกด้วยไข่นำไปปิ้งอีก ถอดไม้เสียบออก เอาก้อนน้ำอ้อยเข้าไป เข้าจี่นี่กินอร่อย เด็กๆ ชอบกิน
เข้าเบือ
- ข้าวสารแช่น้ำแล้วโขลกให้ละเอียด หรือข้าวสุกจี่ไฟ ผสมลงในแกงหน่อไม้ เพื่อให้มีรสอร่อยเรียก เข้าเบือ